วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของอิริคสัน

แนวคิดพัฒนาการจิตสังคมทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน (Erikson)
       อีริคสัน เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ ได้สร้างทฤษฎีขึ้น ตามแนวความคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสำคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological Environment) ว่ามีบทบาทในพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสัน ต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่ง วาระสุดท้ายของชีวิตคือ วัยชราและตอนที่ยังมีชีวิตอยู่บุคลิกภาพของคน ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ และถือว่าเป็น วิวัฒนาการ ที่จะต้องมีอุปสรรค คนอาจจะพบประสบการณ์ที่ไม่ปรารถนา และทำให้เป็นแผล หรือรอยร้าวของ พัฒนาการของบุคลิกภาพ ตามแต่ละขั้นของชีวิต ซึ่งเป็นธรรมชาติของคน แต่ก็สามารถจะรักษาบาดแผล ที่เกิดขึ้นให้หายไป โดยการบำบัดของตนเอง อีริคสัน เป็น Neo – Freudian ได้เรียกทฤษฎีของเขาว่าเป็นทฤษฎีจิตสังคม (Psychosocial Theory)
     ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust) ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริคสันถือว่า เป็นรากฐาน ที่สำคัญของการพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นต้องมีผู้เลี้ยงดู เพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูก็จะต้อง เอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลดเปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น ผู้เลี้ยงดูจะต้อง สนองความต้องการของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพราะเด็กมีความหวังว่าเวลาหิวจะมีคนมาให้นม เวลาที่ผ้าอ้อมเปียก จะมีคนมาเปลี่ยนให้ เด็กจะอยู่ด้วยความหวังว่า จะมีผู้ช่วยเหลือทุกครั้งที่ตนมีความต้องการ นอกจากเด็กจะมี ความเชื่อ และความหวังว่า พ่อแม่ คนเลี้ยง จะมาช่วยสนองความต้องการ ของตนแล้ว เด็กยังเชื่อในตนเองว่า มีความไว้วางใจเป็นรากฐานที่สำคัญ ของการพัฒนาการ ทางบุคลิกภาพ เด็กที่ขาดความไว้วางใจ จะกลายเป็น คนที่ชอบก้าวร้าว ตีตัวออกจากสิ่งแวดล้อม บางกรณีถึงกับเป็นโรคจิตที่เรียกว่า Childhood Schizophrenic
     ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้ และความเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็นอยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ฉะนั้นเด็กวัยนี้เริ่มจะต้องเรียนรู้พฤติกรรมหลายอย่างที่กำหนดโดยสังคม ฉะนั้น พ่อ แม่ และผู้เลี้ยงดู จำเป็นจะต้องรักษาความสมดุล ช่วยเด็กให้เป็นอิสระ พึ่งตนเอง โดยต้องเป็นที่รู้จักใช้คำพูดอธิบายให้เด็กเข้าใจว่า สิ่งไหนทำได้สิ่งไหนทำไม่ได้ พยายามเลี่ยงการดุเด็กเวลาที่ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่บางครั้งจำเป็นต้องปล่อยให้เด็กมีความอาย (Shame) และการสงสัยตัวเองว่าทำไม่ถูก (Doubt) เพราะเป็นสิ่งสำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา เพราะว่าทุกคนควร จะต้องมีความละอายใจ ไม่กล้าทำสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับด้วย อย่างไรก็ตาม พ่อ แม่ ควรจะเน้นการให้โอกาสเด็กพึ่งตนเอง มีความอิสระ ทำอะไรด้วยตนเอง มากกว่าการมีความรู้สึกอาย และสงสัยในตนเอง
     ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสัน เรียกวัยนี้ว่า เป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้ เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจากการสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม เด็กก็ยังพยายามที่จะเป็นอิสระ พึ่งตนเอง อยากจะทำอะไรเองไม่พึ่งผู้ใหญ่ เป็นวัยที่เด็กจะเลียนแบบจากผู้ใหญ่ ทั้งด้านการพูดและการกระทำ อีริคสันอธิบายการรู้สึกผิด (Guilt) เหมือนกับฟรอยด์ คือ เน้น Resolution ของ Oedipal Complex ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ดังนั้น เด็กชายในวัยนี้ต้องการทำอะไรเหมือนพ่อ เด็กหญิงอยากจะทำอะไรเหมือนแม่ เด็กบางคนอาจจะทำงานช้า เสร็จช้า แต่เมื่อเสร็จแล้วก็เป็นสิ่งที่สมบูรณ์เรียบร้อย และถูกต้อง เด็กบางคนอาจจะเรียนไม่เก่ง แต่เล่นกีฬาเก่งเป็นต้น การช่วยเหลือแบบนี้ก็จะช่วยทำให้เด็กไม่มีปมด้อย และมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง ไม่เกลียดตนเอง และไม่มีปมด้อย
      ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ ความรู้สึกด้วย (Industry vs Inferiority) อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา และทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการ ที่จะทำอะไรอยู่เสมอไม่เคยว่าง หรืออยู่เฉยๆ แม้ว่าเด็กที่เจริญเติบโตในวัฒนธรรมที่ไม่มีการศึกษาในโรงเรียน ทั่วโลกก็จะพบว่าเด็กวัยนี้ เป็นวัยที่จะเริ่มฝึกหัดอาชีพ ตัวอย่างเช่น พวกเอสกิโมจะไปตกปลา สำหรับวัฒนธรรมที่จะต้องล่าสัตว์ เพื่อเลี้ยงชีวิต ก็จะหัดทำลูกศร เพื่อไปยิงสัตว์ สำหรับสังคมที่มีการศึกษาในโรงเรียน เด็กก็จะอยู่ในความพยายามอย่างมาก ผู้ใหญ่จะต้องพยายามช่วยให้เด็กได้รับสัมฤทธิ์ผล ให้เขารู้ว่า เขามีความสามารถ เพื่อจะให้มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวของเขาเอง (Positive self – concept)เด็กวัยนี้จะต้องมีประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เขาคิดว่าคนเราเก่งมีความสามารถทำอะไรก็ทำได้ เพื่อจะไม่ให้เกิดปมด้อยอย่างเดียว แต่เด็กก็อาจจะติเตียนกันเอง เปรียบเทียบความสามารถกันเสมอ ครูและบิดามารดามีส่วนช่วยให้เด็กที่โชคไม่ดี ที่ทำงานช้า สู้คนอื่นไม่ได้ โดยพยายามหาสิ่งที่เด็กคนนั้นทำได้ดีกว่าคนอื่น และนอกนี้ชี้ให้เขาเห็นความสามารถพิเศษของเขา และประกาศให้คนอื่นเห็นด้วย เช่น เด็กบางคนอาจจะทำงานช้า เสร็จช้า แต่เมื่อเสร็จแล้ว เป็นผลงานที่มีความถูกต้องสมบูรณ์ เด็กบางคนเรียนไม่เก่งแต่ทำกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้มือได้ดี หรือเล่นกีฬาเก่ง การช่วยเหลือแบบนี้ ก็จะช่วยทำให้เด็กไม่มีปมด้อย และมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง
      ขั้นที่ 5 อัตภาพ หรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณะ การไม่รู้จักตนเอง หรือสับสนในบทบาทในสังคม (Ego Identity vs Role Confustion) อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศ และบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับพัฒนาการทางด้านสติปัญญา เด็กวัยรุ่นที่เริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ฉะนั้นเด็กวัยรุ่นส่วนมากยังมีความสับสน และไม่แน่ใจ และอยากเป็นผู้ใหญ่ หรือบางครั้งก็อยากเป็นเด็ก อยากจะตัดสินใจทำอะไรเอง เวลาผู้ใหญ่ห้าม เด็กจะไม่พอใจ บางครั้งก็คิดว่าผู้ใหญ่ไม่ช่วยตนตัดสินใจ เด็กวัยนี้มักจะเป็นห่วงว่าคนอื่นคิดอย่างไรต่อตนเหมือนกับที่ตนคิดว่าตนคือใคร เด็กวัยรุ่นมีความเป็นห่วงว่าจะทำอะไรไม่ได้ และอยากจะทราบว่าทักษะต่างๆ ที่ตนประสบมาตั้งแต่เด็ก จะช่วยให้เขาเรียนหรือประกอบอาชีพที่เขาปรารถนาได้หรือไม่ เด็กวัยรุ่นมักจะมีความวิตกกังวลในใจกลัวว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน เด็กจะจริงจังในการคบเพื่อน และค่อนข้างที่จะมีอุดมการณ์ของตนเอง ข้อสำคัญที่สุด เด็กวัยนี้ควรจะมีอัตมโนทัศน์และหาเอกลักษณ์ของตนเองได้ (Ego Identity) เพื่อที่จะได้มีความมั่นใจในตนเอง ไม่รู้ว่าตนจะทำอะไร หรือมีบทบาทอย่างไร อีริคสันเรียกว่า "Role Confusion” คือเป็นคนไม่มีหลักการของตัวเองไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร ก็มักจะเลียนแบบผู้อื่น หรือใช้เวลานานกว่าจะพบว่าตนต้องการอะไร บางกรณีเด็กวัยรุ่นจะต้องการมีคนรักเพื่อจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้สึก ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ตนเข้าใจ และรู้ว่าตนคือใคร
นอกจากนี้มักจะเลียนแบบผู้อื่น ตามอย่างผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เข้ากับกลุ่มเด็กเกเร หรือพวกที่ก่ออาชญากรรมได้ ผู้ใหญ่บางครั้งก็มีส่วนทำให้เด็กวัยรุ่นมีอัตมโนทัศน์ทางลบ (Negative Self-concept) โดยการดุว่าและเรียกเด็กวัยรุ่นในทางไม่ดีต่างๆ ตัวอย่างเช่น บางครั้งเรียกลูกสาวว่า "โสเภณีเพราะลูกสาวมีเพื่อนชายมาก ลูกอาจจะมีความโกรธแค้น เลยทำตัวให้เป็นอย่างที่พ่อแม่เรียก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเด็กวัยรุ่นมีความเจริญเติบโตทางสติปัญญาเท่าเทียมผู้ใหญ่ สามารถจะคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ สามารถที่จะแก้ปัญหา โดยตั้งสมมติฐานและมีวิธีโดยใช้หลักปรนัย คิดหาเหตุผล ฉะนั้นถ้าหากพ่อแม่ และผู้ใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก แสดงให้เห็นว่ารักและหวังดี เด็กวัยนี้อาจจะฟังเหตุผลที่พ่อแม่อธิบาย
     ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น (Young Adulthood) เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงที่จะรู้จักตนเองว่า มีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อม ที่จะมีความสัมพันธ์ กับเพื่อนต่างเพศ ในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกันได้ รวมทั้งสามารถยินยอมเห็นใจ ซึ่งกันและกัน คนในวัยนี้ ส่วนมากยังไม่อยาก ที่จะเชื่อมเอกลักษณ์(Fused Identity) กับใคร ชายหญิงที่แต่งงานกัน และสามารถเชื่อม เอกลักษณ์ จะไม่เพียงแต่มีความรักและสนิทสนม ในฐานะสามีและภรรยาเท่านั้น แต่หมายถึงการยอมรับเอกลักษณ์ (Identity) ของกันและกัน โดยไม่คิดว่าจะสูญเสียเอกลักษณ์ของตน ฉะนั้นถ้าแต่งงานก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ตรงข้ามกับผู้ที่ไม่สามารถเชื่อมเอกลักษณ์ มักจะจบชีวิตแต่งงานด้วยการหย่าร้าง
ความใกล้ชิดผูกพันของวัยผู้ใหญ่ระยะต้น ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเกิดระหว่างเพื่อนต่างเพศเท่านั้น การมีความใกล้ชิดผูกพัน กับเพื่อนเพศเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก คนที่ไม่มีเพื่อนสนิทจะต้องอยู่คนเดียวอย่างอ้างว้างตัวคนเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา
      ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagenation) อีริคสันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป หรือเป็นห่วงเยาวชนรุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตร ก็สอนลูกหลาน คนที่ไม่แต่งงาน ถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป คนวัยนี้ บางคนสนใจแต่ตนเองไม่สนใจหรือเป็นห่วงคนอื่น เป็นคนที่ไม่มีความไว้วางใจคนอื่น จึงไม่สามารถที่สอน หรือถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ชนรุ่นหลังได้ แม้แต่ลูกของตนเอง การแต่งงานและมีลูก หรือต้องการจะมีลูกไม่ได้เป็นสิ่งรับรองว่าตนอยู่ในขั้น Generativity คนที่มีปัญหาในวัยนี้จะรัก ตัวเองมากกว่า รักคนอื่น และไม่ยอมที่จะเสียสละเวลาทำงานช่วยเหลือคนอื่น ชอบอยู่คนเดียว มากกว่าและห่วงแต่ตนเอง
     ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง ความสิ้นหวังและไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair) วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้นบุคลิกภาพของคนวัยนี้ มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมา ผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่า ได้มีชีวิตที่ดี และได้ทำดีที่สุด ยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้ว และจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จะเป็นนายของตนเอง และมีความพอใจใน สภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตาย ยอมรับว่า คนเราเกิดมาแล้ว ก็จะต้องตาย ตรงกันข้ามกับคนที่มีปัญหา ในชีวิตขั้นต้นๆ และแก้ไขไม่ได้ ปัญหาเหล่านั้นยังติดตามมาทุกระยะ มักจะเป็นบุคคล ที่ไม่มีความพอใจในตัวเอง รู้ว่าตัวไม่มีประโยชน์ ถือว่าชีวิตมีแต่ความไม่สมหวัง ก็จะมีโลกอยู่ในวัยบั้นปลายแบบผิดหวัง และกลัวความตาย เพราะยังคิดว่า ชีวิตไม่สมบูรณ์ ควรจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ คิดว่าตนเกิดมาทั้งชาติก็ยังไม่เคยทำอะไรที่เป็นประโยชน์ จึงไม่มีความพอใจ ในตนเอง มีความผิดหวังในชีวิต และสายเกินไปที่จะแก้ไขได้
       สรุปแล้ว ทฤษฎีของอีริคสันเป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิต ตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิต เป็นวัยที่เป็น รากฐานเบื้องต้น และวัยต่อๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้ เหมือนกับการสร้างบ้าน จะต้องมีรากฐานที่ดี ถ้ารากฐานไม่ดี ก็จะต้องหาทาง แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้บ้านอยู่อย่างสบาย แข็งแรงไม่ล้ม สำหรับชีวิตของคนก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากในวัยทารก เด็กทารกได้รับการ ดูแลอย่างดี และอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมี ความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบๆ ตั้งแต่บิดา มารดา พี่เลี้ยง เป็นต้น ซึ่งเป็นรากฐานที่จะช่วยให้เด็กช่วยตัวเอง มีความตั้งใจ ที่จะทำอะไรเอง และเมื่อใดโตขึ้น ก็จะเป็นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพ ที่จะทำอะไรได้ (Competence) และนอกจากนี้ จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผู้อื่น สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ดี และไม่ดีของตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะสนิทสนมกับผู้อื่น ทั้งเพศเดียวกัน และเพศตรงข้าม โดยสนิทใจ โดยไม่มีความอิจฉาว่า เพื่อนจะดีกว่าตน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้เสียสละไม่เห็นแก่ตัว ดูแลผู้ที่เยาว์กว่า เช่น ลูกหลาน หรือนักเรียน เต็มใจที่ช่วยให้ความรู้ ถ่ายทอดศิลปวิทยาให้คนรุ่นหลัง และเมื่ออยู่วัยชราก็จะมีความสุข เพราะได้ทำประโยชน์ และหน้าที่มาอย่างเต็มที่แล้ว อีริคสันถือว่า ชีวิตของคนเราแต่ละวัยจะมีปัญหา หรือประสบปัญหาบ้างเป็นธรรมดา แต่บางคนก็จะสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง และ ดำเนินชีวิต ไปตามขั้น แต่บางคนก็มีปัญหาที่อาจจะแก้เองไม่ได้ อาจจะต้องไปหาจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา เพื่อช่วยแก้ปัญหา แต่ บุคลิกภาพ ของแต่ละบุคคล เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และทุกคนมีโอกาสที่จะแก้ไขบุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อม ก็มีส่วนที่จะช่วยส่งเสริม หรือแก้ไขบุคลิกภาพของผู้เยาว์ที่อยู่ในความดูแลให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข



แนวคิดพัฒนาการจิตสังคมทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน (Erikson)

       อีริคสัน เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ ได้สร้างทฤษฎีขึ้น ตามแนวความคิดของฟรอยด์ แต่ได้เน้นความสำคัญของทางด้านสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological Environment) ว่ามีบทบาทในพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสัน ต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่ง วาระสุดท้ายของชีวิตคือ วัยชราและตอนที่ยังมีชีวิตอยู่บุคลิกภาพของคน ก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ และถือว่าเป็น วิวัฒนาการ ที่จะต้องมีอุปสรรค คนอาจจะพบประสบการณ์ที่ไม่ปรารถนา และทำให้เป็นแผล หรือรอยร้าวของ พัฒนาการของบุคลิกภาพ ตามแต่ละขั้นของชีวิต ซึ่งเป็นธรรมชาติของคน แต่ก็สามารถจะรักษาบาดแผล ที่เกิดขึ้นให้หายไป โดยการบำบัดของตนเอง อีริคสัน เป็น Neo – Freudian ได้เรียกทฤษฎีของเขาว่าเป็นทฤษฎีจิตสังคม (Psychosocial Theory)
     ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust) ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริคสันถือว่า เป็นรากฐาน ที่สำคัญของการพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นต้องมีผู้เลี้ยงดู เพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูก็จะต้อง เอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลดเปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น ผู้เลี้ยงดูจะต้อง สนองความต้องการของเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพราะเด็กมีความหวังว่าเวลาหิวจะมีคนมาให้นม เวลาที่ผ้าอ้อมเปียก จะมีคนมาเปลี่ยนให้ เด็กจะอยู่ด้วยความหวังว่า จะมีผู้ช่วยเหลือทุกครั้งที่ตนมีความต้องการ นอกจากเด็กจะมี ความเชื่อ และความหวังว่า พ่อแม่ คนเลี้ยง จะมาช่วยสนองความต้องการ ของตนแล้ว เด็กยังเชื่อในตนเองว่า มีความไว้วางใจเป็นรากฐานที่สำคัญ ของการพัฒนาการ ทางบุคลิกภาพ เด็กที่ขาดความไว้วางใจ จะกลายเป็น คนที่ชอบก้าวร้าว ตีตัวออกจากสิ่งแวดล้อม บางกรณีถึงกับเป็นโรคจิตที่เรียกว่า Childhood Schizophrenic
     ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้ และความเจริญเติบโตของร่างกาย ช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็นอยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ฉะนั้นเด็กวัยนี้เริ่มจะต้องเรียนรู้พฤติกรรมหลายอย่างที่กำหนดโดยสังคม ฉะนั้น พ่อ แม่ และผู้เลี้ยงดู จำเป็นจะต้องรักษาความสมดุล ช่วยเด็กให้เป็นอิสระ พึ่งตนเอง โดยต้องเป็นที่รู้จักใช้คำพูดอธิบายให้เด็กเข้าใจว่า สิ่งไหนทำได้สิ่งไหนทำไม่ได้ พยายามเลี่ยงการดุเด็กเวลาที่ทำสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แต่บางครั้งจำเป็นต้องปล่อยให้เด็กมีความอาย (Shame) และการสงสัยตัวเองว่าทำไม่ถูก (Doubt) เพราะเป็นสิ่งสำคัญ เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา เพราะว่าทุกคนควร จะต้องมีความละอายใจ ไม่กล้าทำสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับด้วย อย่างไรก็ตาม พ่อ แม่ ควรจะเน้นการให้โอกาสเด็กพึ่งตนเอง มีความอิสระ ทำอะไรด้วยตนเอง มากกว่าการมีความรู้สึกอาย และสงสัยในตนเอง
     ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสัน เรียกวัยนี้ว่า เป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้ เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจากการสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม เด็กก็ยังพยายามที่จะเป็นอิสระ พึ่งตนเอง อยากจะทำอะไรเองไม่พึ่งผู้ใหญ่ เป็นวัยที่เด็กจะเลียนแบบจากผู้ใหญ่ ทั้งด้านการพูดและการกระทำ อีริคสันอธิบายการรู้สึกผิด (Guilt) เหมือนกับฟรอยด์ คือ เน้น Resolution ของ Oedipal Complex ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว ดังนั้น เด็กชายในวัยนี้ต้องการทำอะไรเหมือนพ่อ เด็กหญิงอยากจะทำอะไรเหมือนแม่ เด็กบางคนอาจจะทำงานช้า เสร็จช้า แต่เมื่อเสร็จแล้วก็เป็นสิ่งที่สมบูรณ์เรียบร้อย และถูกต้อง เด็กบางคนอาจจะเรียนไม่เก่ง แต่เล่นกีฬาเก่งเป็นต้น การช่วยเหลือแบบนี้ก็จะช่วยทำให้เด็กไม่มีปมด้อย และมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง ไม่เกลียดตนเอง และไม่มีปมด้อย
      ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ ความรู้สึกด้วย (Industry vs Inferiority) อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้ มีพัฒนาการด้านสติปัญญา และทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการ ที่จะทำอะไรอยู่เสมอไม่เคยว่าง หรืออยู่เฉยๆ แม้ว่าเด็กที่เจริญเติบโตในวัฒนธรรมที่ไม่มีการศึกษาในโรงเรียน ทั่วโลกก็จะพบว่าเด็กวัยนี้ เป็นวัยที่จะเริ่มฝึกหัดอาชีพ ตัวอย่างเช่น พวกเอสกิโมจะไปตกปลา สำหรับวัฒนธรรมที่จะต้องล่าสัตว์ เพื่อเลี้ยงชีวิต ก็จะหัดทำลูกศร เพื่อไปยิงสัตว์ สำหรับสังคมที่มีการศึกษาในโรงเรียน เด็กก็จะอยู่ในความพยายามอย่างมาก ผู้ใหญ่จะต้องพยายามช่วยให้เด็กได้รับสัมฤทธิ์ผล ให้เขารู้ว่า เขามีความสามารถ เพื่อจะให้มีความรู้สึกที่ดีต่อตัวของเขาเอง (Positive self – concept)เด็กวัยนี้จะต้องมีประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เขาคิดว่าคนเราเก่งมีความสามารถทำอะไรก็ทำได้ เพื่อจะไม่ให้เกิดปมด้อยอย่างเดียว แต่เด็กก็อาจจะติเตียนกันเอง เปรียบเทียบความสามารถกันเสมอ ครูและบิดามารดามีส่วนช่วยให้เด็กที่โชคไม่ดี ที่ทำงานช้า สู้คนอื่นไม่ได้ โดยพยายามหาสิ่งที่เด็กคนนั้นทำได้ดีกว่าคนอื่น และนอกนี้ชี้ให้เขาเห็นความสามารถพิเศษของเขา และประกาศให้คนอื่นเห็นด้วย เช่น เด็กบางคนอาจจะทำงานช้า เสร็จช้า แต่เมื่อเสร็จแล้ว เป็นผลงานที่มีความถูกต้องสมบูรณ์ เด็กบางคนเรียนไม่เก่งแต่ทำกิจกรรมต่างๆ ที่ใช้มือได้ดี หรือเล่นกีฬาเก่ง การช่วยเหลือแบบนี้ ก็จะช่วยทำให้เด็กไม่มีปมด้อย และมีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง
      ขั้นที่ 5 อัตภาพ หรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณะ การไม่รู้จักตนเอง หรือสับสนในบทบาทในสังคม (Ego Identity vs Role Confustion) อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศ และบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบกับพัฒนาการทางด้านสติปัญญา เด็กวัยรุ่นที่เริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ฉะนั้นเด็กวัยรุ่นส่วนมากยังมีความสับสน และไม่แน่ใจ และอยากเป็นผู้ใหญ่ หรือบางครั้งก็อยากเป็นเด็ก อยากจะตัดสินใจทำอะไรเอง เวลาผู้ใหญ่ห้าม เด็กจะไม่พอใจ บางครั้งก็คิดว่าผู้ใหญ่ไม่ช่วยตนตัดสินใจ เด็กวัยนี้มักจะเป็นห่วงว่าคนอื่นคิดอย่างไรต่อตนเหมือนกับที่ตนคิดว่าตนคือใคร เด็กวัยรุ่นมีความเป็นห่วงว่าจะทำอะไรไม่ได้ และอยากจะทราบว่าทักษะต่างๆ ที่ตนประสบมาตั้งแต่เด็ก จะช่วยให้เขาเรียนหรือประกอบอาชีพที่เขาปรารถนาได้หรือไม่ เด็กวัยรุ่นมักจะมีความวิตกกังวลในใจกลัวว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับของเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน เด็กจะจริงจังในการคบเพื่อน และค่อนข้างที่จะมีอุดมการณ์ของตนเอง ข้อสำคัญที่สุด เด็กวัยนี้ควรจะมีอัตมโนทัศน์และหาเอกลักษณ์ของตนเองได้ (Ego Identity) เพื่อที่จะได้มีความมั่นใจในตนเอง ไม่รู้ว่าตนจะทำอะไร หรือมีบทบาทอย่างไร อีริคสันเรียกว่า "Role Confusion” คือเป็นคนไม่มีหลักการของตัวเองไม่รู้ว่าตนเองต้องการอะไร ก็มักจะเลียนแบบผู้อื่น หรือใช้เวลานานกว่าจะพบว่าตนต้องการอะไร บางกรณีเด็กวัยรุ่นจะต้องการมีคนรักเพื่อจะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้สึก ซึ่งเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ตนเข้าใจ และรู้ว่าตนคือใคร
นอกจากนี้มักจะเลียนแบบผู้อื่น ตามอย่างผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้เข้ากับกลุ่มเด็กเกเร หรือพวกที่ก่ออาชญากรรมได้ ผู้ใหญ่บางครั้งก็มีส่วนทำให้เด็กวัยรุ่นมีอัตมโนทัศน์ทางลบ (Negative Self-concept) โดยการดุว่าและเรียกเด็กวัยรุ่นในทางไม่ดีต่างๆ ตัวอย่างเช่น บางครั้งเรียกลูกสาวว่า "โสเภณีเพราะลูกสาวมีเพื่อนชายมาก ลูกอาจจะมีความโกรธแค้น เลยทำตัวให้เป็นอย่างที่พ่อแม่เรียก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเด็กวัยรุ่นมีความเจริญเติบโตทางสติปัญญาเท่าเทียมผู้ใหญ่ สามารถจะคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ สามารถที่จะแก้ปัญหา โดยตั้งสมมติฐานและมีวิธีโดยใช้หลักปรนัย คิดหาเหตุผล ฉะนั้นถ้าหากพ่อแม่ และผู้ใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก แสดงให้เห็นว่ารักและหวังดี เด็กวัยนี้อาจจะฟังเหตุผลที่พ่อแม่อธิบาย
     ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น (Young Adulthood) เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงที่จะรู้จักตนเองว่า มีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อม ที่จะมีความสัมพันธ์ กับเพื่อนต่างเพศ ในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกันได้ รวมทั้งสามารถยินยอมเห็นใจ ซึ่งกันและกัน คนในวัยนี้ ส่วนมากยังไม่อยาก ที่จะเชื่อมเอกลักษณ์(Fused Identity) กับใคร ชายหญิงที่แต่งงานกัน และสามารถเชื่อม เอกลักษณ์ จะไม่เพียงแต่มีความรักและสนิทสนม ในฐานะสามีและภรรยาเท่านั้น แต่หมายถึงการยอมรับเอกลักษณ์ (Identity) ของกันและกัน โดยไม่คิดว่าจะสูญเสียเอกลักษณ์ของตน ฉะนั้นถ้าแต่งงานก็จะอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ตรงข้ามกับผู้ที่ไม่สามารถเชื่อมเอกลักษณ์ มักจะจบชีวิตแต่งงานด้วยการหย่าร้าง
ความใกล้ชิดผูกพันของวัยผู้ใหญ่ระยะต้น ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเกิดระหว่างเพื่อนต่างเพศเท่านั้น การมีความใกล้ชิดผูกพัน กับเพื่อนเพศเดียวกัน ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก คนที่ไม่มีเพื่อนสนิทจะต้องอยู่คนเดียวอย่างอ้างว้างตัวคนเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา
      ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagenation) อีริคสันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไป หรือเป็นห่วงเยาวชนรุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตร ก็สอนลูกหลาน คนที่ไม่แต่งงาน ถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป คนวัยนี้ บางคนสนใจแต่ตนเองไม่สนใจหรือเป็นห่วงคนอื่น เป็นคนที่ไม่มีความไว้วางใจคนอื่น จึงไม่สามารถที่สอน หรือถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ชนรุ่นหลังได้ แม้แต่ลูกของตนเอง การแต่งงานและมีลูก หรือต้องการจะมีลูกไม่ได้เป็นสิ่งรับรองว่าตนอยู่ในขั้น Generativity คนที่มีปัญหาในวัยนี้จะรัก ตัวเองมากกว่า รักคนอื่น และไม่ยอมที่จะเสียสละเวลาทำงานช่วยเหลือคนอื่น ชอบอยู่คนเดียว มากกว่าและห่วงแต่ตนเอง
     ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง ความสิ้นหวังและไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair) วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้นบุคลิกภาพของคนวัยนี้ มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมา ผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่า ได้มีชีวิตที่ดี และได้ทำดีที่สุด ยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้ว และจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข จะเป็นนายของตนเอง และมีความพอใจใน สภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตาย ยอมรับว่า คนเราเกิดมาแล้ว ก็จะต้องตาย ตรงกันข้ามกับคนที่มีปัญหา ในชีวิตขั้นต้นๆ และแก้ไขไม่ได้ ปัญหาเหล่านั้นยังติดตามมาทุกระยะ มักจะเป็นบุคคล ที่ไม่มีความพอใจในตัวเอง รู้ว่าตัวไม่มีประโยชน์ ถือว่าชีวิตมีแต่ความไม่สมหวัง ก็จะมีโลกอยู่ในวัยบั้นปลายแบบผิดหวัง และกลัวความตาย เพราะยังคิดว่า ชีวิตไม่สมบูรณ์ ควรจะทำอะไรที่เป็นประโยชน์ คิดว่าตนเกิดมาทั้งชาติก็ยังไม่เคยทำอะไรที่เป็นประโยชน์ จึงไม่มีความพอใจ ในตนเอง มีความผิดหวังในชีวิต และสายเกินไปที่จะแก้ไขได้
       สรุปแล้ว ทฤษฎีของอีริคสันเป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิต ตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยชรา อีริคสันเชื่อว่า วัยแรกของชีวิต เป็นวัยที่เป็น รากฐานเบื้องต้น และวัยต่อๆ มาก็สร้างจากรากฐานนี้ เหมือนกับการสร้างบ้าน จะต้องมีรากฐานที่ดี ถ้ารากฐานไม่ดี ก็จะต้องหาทาง แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้บ้านอยู่อย่างสบาย แข็งแรงไม่ล้ม สำหรับชีวิตของคนก็เช่นเดียวกัน ถ้าหากในวัยทารก เด็กทารกได้รับการ ดูแลอย่างดี และอบอุ่น ก็จะช่วยให้เด็กมี ความเชื่อถือในผู้อื่นที่อยู่รอบๆ ตั้งแต่บิดา มารดา พี่เลี้ยง เป็นต้น ซึ่งเป็นรากฐานที่จะช่วยให้เด็กช่วยตัวเอง มีความตั้งใจ ที่จะทำอะไรเอง และเมื่อใดโตขึ้น ก็จะเป็นผู้ที่รู้สึกว่าตนเองมีสมรรถภาพ ที่จะทำอะไรได้ (Competence) และนอกจากนี้ จะมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผู้อื่น สามารถที่จะยอมรับสิ่งที่ดี และไม่ดีของตนเองและผู้อื่น สามารถที่จะสนิทสนมกับผู้อื่น ทั้งเพศเดียวกัน และเพศตรงข้าม โดยสนิทใจ โดยไม่มีความอิจฉาว่า เพื่อนจะดีกว่าตน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ก็จะเป็นผู้เสียสละไม่เห็นแก่ตัว ดูแลผู้ที่เยาว์กว่า เช่น ลูกหลาน หรือนักเรียน เต็มใจที่ช่วยให้ความรู้ ถ่ายทอดศิลปวิทยาให้คนรุ่นหลัง และเมื่ออยู่วัยชราก็จะมีความสุข เพราะได้ทำประโยชน์ และหน้าที่มาอย่างเต็มที่แล้ว อีริคสันถือว่า ชีวิตของคนเราแต่ละวัยจะมีปัญหา หรือประสบปัญหาบ้างเป็นธรรมดา แต่บางคนก็จะสามารถแก้ปัญหาด้วยตนเอง และ ดำเนินชีวิต ไปตามขั้น แต่บางคนก็มีปัญหาที่อาจจะแก้เองไม่ได้ อาจจะต้องไปหาจิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา เพื่อช่วยแก้ปัญหา แต่ บุคลิกภาพ ของแต่ละบุคคล เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และทุกคนมีโอกาสที่จะแก้ไขบุคลิกภาพของตน และผู้ใหญ่ที่อยู่แวดล้อม ก็มีส่วนที่จะช่วยส่งเสริม หรือแก้ไขบุคลิกภาพของผู้เยาว์ที่อยู่ในความดูแลให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุข


ที่มา http://www.novabizz.com/NovaAce/Self/Physical/Personality_22

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น